วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน


วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน (วันที่ เดือน ของวันจีน) ถือเป็นเทศกาลใหญ่ ที่ประหนึ่งรวมเทศกาลวันตรุษ และอาจรวมเทศกาลไหว้สิ้นปี เข้ากับเทศกาลวันตรุษ ซึ่งจะต่างกับวันไทย และวันสากล ในขณะที่วันของไทย เป็นวันข้างขึ้น และข้างแรม เดือนหนึ่งมี 30 วัน ของจีนจะเป็นเดือนสั้น และเดือนยาว เดือนสั้นมี 29 วัน เดือนยาวมี 30 วัน
วันจีนจะช้ากว่าวันข้างขึ้น ข้างแรม ในปฏิทินอยู่ เดือน ยกตัวอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน เมื่อดูในปฎิทินจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือสมมติว่าวันที่ 31 ธันวาคม2535 ตรงกับวันขึ้น ค่ำ เดือน ก็คิดกลับเป็นวันจีนจะเป็นวันที่ เดือน 12 จากนั้นนับต่อจากวันที่ ไปเป็นวันที่ เดือน 12 ของจีน คือ วันที่ มกราคม 2536 นับไปเรื่อยๆ จนครบวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2536 ของไทย ดังนั้นวันตรุษจีน คือ วันที่ เดือน ของจีน ก็จะตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2536
วันสิ้นปีจะมีการไหว้ หลายอย่าง นิยมเรียกว่า "วันไหว้" มักเรียกวันก่อนหน้าวันไหว้ว่า "วันจ่าย" พราะเป็นวันสุดท้ายที่จะจับจ่ายซื้อของไหว้ของใช้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าจะปิดธุรกิจหลายวัน
การไหว้ตรุษจีนจะนิยมเรียกกันว่า "วันชิวอิด" แปลว่า วันที่ มีความน่าสนใจตรงที่ว่า คนจีนจะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ"ในเวลากลางดึก เมื่อเวลาย่างเข้าวันตรุษหรือวันชิงอิดไช้ แปลว่า โชคซิ้ง และเอี๊ย แปลว่า เจ้า
นอกจากนี้เวลาไหว้ยังมีฤกษ์ยาม และทิศที่จะตั้งโต๊ะไหว้ ยังเป็นทิศ และเวลาเฉพาะในแต่ละปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ของไหว้จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม และโหงวเส็กทึ้งกับนำชา ส้ม คนจีนเรียกว่า กา หรือ "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี เพื่ออวยพรให้ลูกหลานโชคดี และใช้ให้เป็นของขวัญ...นำโชคมามอบให้แก่กันโหงวเส็กทึ้ง แปลว่า ขนม สี ได้แก่  ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ถั่วเคลือบน้ำตาล และ ฟักเชื่อม บางทีก็เรียกว่า "ขนมจันอับ" หรือ "แต่เหลียง" บางบ้านมีการไหว้อาหารเจแห้ง ให้แก่บรรพบุรุษด้วย บางบ้านนิยมเปิดไฟไว้ที่ศาลเจ้าที่ "ตี่จู่เอี๊ย" เพื่อรอรับวันที่เจ้าที่จะเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ในวันที่ เดือน ของจีน
ในวันตรุษจีน หรือวันชิวอิด ในหมู่คนจีนจะทราบกันว่า นี่คือ "วันถือ" ถือที่จะทำในสิ่งที่ดี และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่สวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดแต่ "หออ่วย" แปลว่า คำดีๆ ไม่อารมณ์เสียหงุดหงิด ไม่ทำงานหนักเพื่อที่ว่าตลอดปีจะได้ไม่ต้องทำงานหนักนัก ไม่กวาดบ้าน เพราะอาจปัดสิ่งดีๆ มีมงคลออกไป แล้วกวาดความไม่ดีเข้ามา เริ่มต้นเช้าวันตรุษ คนในบ้านก็จะทักทายกันด้วยคำอวยพร "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" หมายถึง เวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนา 
อั้งเปา" ในวันตรุษจีน มีคำจีนโบราณเรียกว่า "เอี๊ยบซ้วยจี๊" เป็นเงินสิริมงคลที่ผู้ใหญ่ให้แก่ลูกหลาน เพื่ออวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญก้าวหน้า  ธรรมเนียมหนึ่งในวันตรุษจีนคือการไป "ไป๊เจีย" หรือการไปไหว้ขอพร และอวยพรผู้ใหญ่ หรือญาติมิตร โดยส้มสีทอง ผลห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าผู้ชาย ที่นิยมใช้กันแต่ส้มสีทอง ไม่ใช้ส้มเขียว เพราะสีทองเป็นสีมงคล ทองอร่ามเรืองจะอวยพรให้รุ่งเรือง เช่นเดียวกับส้ม ที่คนจีนเรียกว่า ไต้กิก แปลว่าโชคดี ส้มสีทองที่มอบแก่กันคือ นัยอวยพรให้ "นี้นี้ไต้กิก" แปลว่า ทุกๆ ปีให้โชคดีตลอดไป
ส้มสีทอง ใบ เมื่อเจ้าบ้านรับไป จะเป็นการรับไปเปลี่ยนว่าเปลี่ยนส้ม ใบของแขกกับ ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้มใบคืน ให้แขกนำกลับไป ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม ใบ คืนให้แขกนำกลับไป หมายถึง การที่ต่างฝ่าย ต่างให้โชคดีแก่กัน
การติดฮู้ เป็นธรรมเนียมที่นิยมถือทำในวันตรุษจีน เช่น การติด "ฮู้" หรือยันต์แผ่นใหม่ เพื่อคุ้มครองบ้าน ติด "ตุ้ยเลี้ยง" หรือแผ่นคำอวยพรที่ปากทางเข้าบ้าน

เทศกาลวันเช็งเม็ง


วันเช็งเม๊งเป็น 1ของ 24ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาต้นเดือนเมษายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน พอถึงวันนี้ ผู้คนจะเดินทางไปชานเมือง เพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ เดินเที่ยวชมวิว และเก็บกิ่งหลิวกลับมาเสียบประตูบ้าน   ในท้องที่บางแห่งของจีนเรียกวันเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลผี จะเห็นได้ว่านี่เป็นวันเส้นไหว้บรรพบุรุษ เวลาก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ทุกครอบครัวจะไปไหว้หลุมบรรพบุรุษ ตัดทิ้งญ้ารกที่ขึ้นตามหลุมศพ เพิ่มดินใหม่บนหลุม แล้วจุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทองกราบไหว้แสดงความไว้อาลัย มีกลอนโบราณยุคซ้องได้บรรยายถึงสภาพของประเพณีไหว้หลุมศพว่า สุสานบนเขาเหนือใต้ ผู้คนกราบไหว้วันเช็งเม็ง กระดาษเงินทองปลิวว่อนคลั่งผีเสื้อ เลือดและน้ำตาหลั่งชะโลมดอกตู้เจียนให้แดงสะพรั่ง   เล่ากันว่าวันเชงเม๊งเริ่มขึ้นในสมัยราชวงค์ฮั่น (ก่อนค.ศ.206 – ค.ศ 220) จนถึงสมัยราชวงค์หมิงและสมัยราชวงค์ชิง พิธีไหว้หลุมบรรพบุรุษพัฒนาถึงขั้นสูงสุด บางคนมิเพียงแต่เผากระดาษเงินกระดาษทองที่หน้าสุสานแล้ว ยังทำกับข้าว 10 อย่างไปวางไว้หน้าสุสานด้วย   การไหว้่สุสานบรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม็งเป็นประเพณีสำคัญของจีน และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าพิธีไหว้จะเรียบง่ายกว่าสมัยก่อน มีรูปแบบทั้งการไหว้ของแต่ละครอบครัว และการไหว้ที่จัดโดยองค์กรและหมู่คณะต่าง ๆ  โดยผู้คนจะพากันไปไหว้สุสานของวีรบุรุษที่สละชีพเพื่อชาติ โดยวางดอกไม้สดหรือต้นสนต้นเล็กเพื่อแสดงความไว้อาลัย   วันเช็งเม็งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของจีน แม้ว่างานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้บรรพบุรุษเป็นหลักก็ตาม แต่ในระหว่างประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น ผู้คนยังถือโอกาสนี้เป็นการออกนอกบ้านท่องเที่ยวตามชานเมือง ชมต้นไม้สีเขียวที่ไม่ได้เห็นในฤดูหนาวเป็นเวลาหลายเดือน ท้องที่บางแห่งของจีนจึงเรียกเทศกาลเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลวันเหยียบสีเขียว   ในสมัยโบราณยังมีประเพณีที่เดินเที่ยวชมสีเขียวตามชานเมืองและเด็ดดอกไม้ของผักสดชนิดหนึ่งชื่อว่า ฉีไช่ แต่ประเพณีนี้ยากที่จะเห็นได้ในสมัยปัจจุบัน คือก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ผู้หญิงหรือสาว ๆ มักจะออกจากบ้านไปเที่ยวตามชานเมืองและเด็ดผักป่าสด ๆ กลับมาบ้าน ทำเป็นใส้เกี๊ยวน้ำ รสชาติอร่อยมาก ผู้หญิงบางคนยังเอาดอกสีขาวของผักฉีทำเป็นปิ่นผม ช่วงเทศกาลเช้งเม็ง ชาวจีนยังนิยมการเล่นวาก เล่นชักคะเย่อและเล่นชิงช้าเป็นต้น  ทำไมวันเช้งเม็งใช้คำว่าเช็งเม็ง ตามภาษาจีนกลาง เช็งเม็งหมายความว่าสดชื่น สว่างและแจ่มใส ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสดชื่น ญ้ากำลังขึ้นเขียว ป่าไม้เริ่มผลิดอกออกใบ  เป็นช่วงเวลาเริ่มทำไร่ไถน่า ในสำนวนการเกษตรของจีนมีการบรรยายถึงเทศกาลเช็งเม็งกับการเกษตร เช่น ชิงหมิงเฉียนโฮ่ว จ้งกวาจ้งโต้ว ความหมายคือก่อนและหลังช่วงเวลาเช็งเม็ง เป็นเวลาเหมาะสมที่จะปลูกแตงปลูกถั่ว และยังมีสำนวนกล่าวว่า การปลูกต้นไม้ต้นใหม่ต้องไม่เกินเทศกาลเช็งเม็ง ช่วงเวลาก่อนเช็งเม็งพืชอะไรก็ปลูกขึ้นได้ดีหมด   ในเทศกาลเช็งเม็งยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ มีกลอนโบราณจีนที่บรรยายทิวทัศน์ว่า ต้นหลิวทั่วเมืองออกใบสีเขียวอ่อนเหมือนหมอกสีเขียวเต็มท้องฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่วงเทศกาลเช็งเม็ง

เทศกาลขนมบ๊ะจ่าง (ตวน อู่ เจี๋ย)


     ตรงกับวันที่ 5 ของเดือน 5 ตามปฏิทินจีน บางครั้งจึงเรียกว่างานเทศกาลเดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึง ชวี หยวน นักกวีผู้มีชื่อเสียงของจีน ทำให้วันนี้มีผู้คนเรียกว่าเทศกาลกวี ด้วย  ท่าน ชวี หยวน เป็นคนประเทศฉู่ เมื่อ 2พันปีก่อน ท่านทำงานอยู่ข้างกายฮ่องเต้ฉู่ แม้ว่าท่านได้ทำงานเพื่อประเทศฉู่ ด้วยความจงรักภักดีอย่างมาก แต่มิได้รับความเชื่อถือ ท่านจึงถอนตัวออกจากฮ่องเต้ กลับสู่บ้านเกิดในชนบท ท่านมีความจงรักภักดีต่อประเทศของท่านเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ข่าวว่าประเทศฉู่ ถูกข้าศึกเข้ายึดครองเป็นเมืองขึ้น เกิดเสียใจอย่างรุนแรง ถึงกับกระโดดน้ำฆ่าตัวตายในวันที่ตรงกับวันที่ 5เดือน 5ผู้คนร่วมหมู่บ้านของท่านมีความรักต่อท่านอย่างแท้จริง ต่างพากันพายเรือออกไป ตามหาอยู่หลายวัน แต่หาไม่พบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปลาในน้ำทำอันตรายต่อท่านชวีหยวน ชาวบ้านจึงพากันโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำให้ปลากินแทน ต่อมาทุกๆ ปี ในวันที่ 5เดือน 5ผู้คนจะพายเรือออกไปโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำเป็นประจำ แต่ประเพณีได้กลายมาเป็นการรับประทานบ๊ะจ่าง และเพิ่มเติมประเพณีการแข่งเรือมังกรเข้ามาด้วย  เรือมังกรคือเรือที่ประดับโขนเรือเป็นหัวมังกรซึ่งถูกนำมาพายแข่งขันกันในบรรยากาศ ที่สนุกสนาน มิใช่แต่ชาวจีนเท่านั้นที่ชอบการแข่งเรือมังกร นานาประเทศทั่วโลกต่างก็ชื่นชม ในประเทศจีนมีการแข่งขันเรือมังกรระดับนานาชาติหลายเมือง เช่นที่หูหนาน และฮ่องกง เป็นต้น

credit : http://www.phuketvegetarian.com

เทศกาลโคมไฟ (หยวนเซียวเจี๋ย)


     วันเทศกาลนี้ตามปฏิทินจันทรคติคือ วันที่ 15 หลังจากวันตรุษจีน วันนี้เป็นวันประเพณีที่ชาวจีนเล่นโคมไฟ จึงเรียกว่าเทศกาลโคมไฟ  วันเทศกาลโคมไฟไม่เป็นวันหยุดราชการ แต่ประชาชนก็ให้ความสนใจที่จะฉลอง เทศกาลนี้ โดยเฉพาะในชนบทจะอึกทึกเป็นพิเศษ ประชาชนนอกจากจะได้ดูการแสดง และการละเล่นหลายชนิดแล้วยังมีรายการฉองโคมไฟอีกมากมาย ที่ผู้คนดูกันมากที่สุดเห็นจะได้แก่ขบวนพาเหรดที่ที่มีการแต่งตัวด้วยอาภรณ์แบบโบราณ ขณะเดินเคลื่อนที่ไปก็จะมีการแสดงประกอบตามไปด้วย ประเพณีนี้ซึ่งมีการฉลองทุกภาค ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ ต่างมีการแสดงที่สำคัญคือการเชิดมังกร และสิงโต   ในการฉลองเทศกาลนี้จะเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งอยู่ห่างกันได้กลับมาพบกัน ชาวภาคใต้มีประเพณีนำ หยวนเซียว ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมสีขาวมีไส้ ต้มในน้ำขิง (เหมือนบัวลอยน้ำขิง) ของกินนี้ออกเสียงเรียกกันว่า ถวนหยวน ซึ่งแปลว่า คืนสู่เหย้า ถือว่าเป็นโอกาสแห่งความเป็นสิริมงคล